มาเลเซียได้เริ่มการไต่สวนภาษีการตอบโต้การทุ่ม (antidumping duty) ของเหล็กเคลือบ (coated iron) หรือเหล็กแผ่นที่ไม่ใช่โลหะผสม (non-alloy steel flat-rolled products) จากจีน อินเดีย ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ โดยกระทรวงการลงทุน การค้า และอุตสาหกรรม (Ministry of Investment, Trade and Industry) กล่าวในบันทึกที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 14 ส.ค. ตามคำร้องจากอุตสาหกรรมในประเทศ
รัฐบาลมาเลเซียได้รับคำร้องจาก Perusahaan Sadur Timah Malaysia (Perstima) ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้ผลิตเหล็กเคลือบในประเทศ โดยกล่าวหาว่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์เหล็ก “กำลังทุ่มเข้ามาในมาเลเซียทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศ” ตามรายงานของ MITI
การไต่สวนได้เกิดขึ้นท่ามกลางความกังวลของตลาดว่า การส่งออกเหล็กในระดับสูงจากประเทศจีนอาจสร้างแรงกดดันต่อตลาดเหล็กทั่วโลกในปี 2024
Perstima กล่าวว่า “อุตสาหกรรมในประเทศต้องเผชิญกับการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากประเทศจีนและเกาหลีใต้ ซึ่งกำลังขยายอุปทานเข้าสู่ตลาดของเรา การสิ้นสุดมาตรการปกป้องของมาตรการการทุ่มตลาดในปีงบประมาณ 2019 ทำให้เกิดความท้าทายในการรักษาตำแหน่งทางการตลาดของเราทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับโลก”
โดยภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดระหว่าง 0% ถึง 9.78% ของราคาส่งออกถูกกำหนดให้กับเหล็กเคลือบที่นำเข้าจากจีนและเกาหลีใต้ ตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2013 ถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2018 ตามข้อมูลของ MITI
Perstima ดำเนินการโรงงานเหล็ก tinplate โดยมีกำลังการผลิต 200,000 ตันต่อปี ที่นิคมอุตสาหกรรม Pasir Gudang, Johor ประเทศมาเลเซีย นอกจากนี้ ยังมีโรงงานในเวียดนาม ที่มีกำลังการผลิต 120,000 ตันต่อปี และโรงงานในฟิลิปปินส์ที่มีกำลังการผลิต 200,000 ตันต่อปี
การไต่สวนนี้เกิดขึ้นภายหลังการทบทวนมาตการตอบโต้การทุ่มตลาดที่มีอยู่แล้วของมาเลเซีย สำหรับลวดเหล็กตีเกลียวสำหรับคอนกรีตอัดแรง (prestressing concrete :PC Strand) ที่มีต้นกำเนิดหรือส่งออกจากประเทศจีน ซึ่งเริ่มเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม
ภายใต้การไต่สวนล่าสุด คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์คือเหล็กทรงแบนที่มีความกว้างตั้งแต่ 600 มม. ขึ้นไป หุ้ม ชุบหรือเคลือบด้วยดีบุก (electrolytic tinplate or tinplate) ซึ่งจัดประเภทภายใต้รหัส HS และ ASEAN Harmonized Tariff Nomenclature (AHTN) คือ 7210119000 และ 7210129000.
จากข้อมูลของ S&P Global Trade Analytics Suite จีนส่งออกผลิตภัณฑ์ทรงแบน (flat products) จำนวน 45,004 ตัน ภายใต้รหัส HS ดังกล่าว ในปี 2023 ซึ่งคิดเป็น 55.9% ของการนำเข้าของมาเลเซีย โดยเพิ่มขึ้น 46% เมื่อเทียบจากปี 2022
จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และอินเดียเป็นซัพพลายเออร์ สำคัญ 4 อันดับแรก ของมาเลเซีย ในปี 2023 คิดเป็น 76,319 ตัน หรือ 94.8% ของการนำเข้าเหล็กเคลือบทั้งหมดของประเทศ
ปริมาณการนำเข้าของมาเลเซียยังคงเติบโตในปี 2024 โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปี มีการไหลเข้าของเหล็กเคลือบ 28,042 ตัน เพิ่มขึ้น 15% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2023 ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ของอาเซียน อย่างประเทศไทยได้มีการขยายภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดสำหรับสินค้าเหล็กทรงแบน นำเข้าจากจีน